ทความ 1 : ความเป็นมาของกีต้าร์

กีตาร์ (Guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดหรือเกาด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์
กีตาร์มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติกและกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง

ประเภทของ กีตาร์โปร่ง ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
1. Classical guitars กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) หรือกีตาร์สายไนล่อน นิยมเล่นเพลงบรรเลง แบบ single note (finger-picking) ดังนั้น คอกีตาร์คลาสสิก จึงมีความกว้างกว่ากีตาร์ไซด์มาตรฐาน ทั่วไป
2. Flat-top (steel-string) guitars หรือที่รู้จักกันในชื่อ กีตาร์โปร่ง (ACOUSTIC GUITAR)
กีตาร์โปร่งสายเหล็กมีหลาย ๆ รูปทรง เช่น กีตาร์ทรง Dreadnought (D), Orchestra Model (OM), Grand Concert (GC), Grand Auditorium (GA), Jumbo (J), และขนาด 3/4 กีตาร์ขนาดเล็ก

กีตาร์โปร่งสายเหล็กต่างกีตาร์คลาสสิกอยู่หลาย ๆ ประการ เช่น วิธีการเล่น, สายกีตาร์ที่ใช้, โครงสร้างภายในตัวกีตาร์หรือ Bracing, เหล็กดามคอหรือ truss rod เพื่อปรับแต่งองศาคอได้ เนื่องจาก แรงดึงของสายกีตาร์มีมาก อาจจะทำให้องศารอเปลี่ยนได้ ผู้เล่นจึงสามารถปรับแต่งองศาได้ตามความชอบ, กีตาร์โปร่งสายเหล็ก (Flat-top) ถูกสร้างมามากกว่า 180 ปี
(หลังมีกีตาร์สานไนล่อน) เนื่องจากในวงดนตรี มีเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เข้ามาร่วมเล่นด้วย และประกอบกับสไตล์เพลงมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เล่นจึงต้องการกีตาร์ที่มีเสียงดัง กังวานมากพอ ที่สามารถใช้รวมเล่นกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น ๆ ดังนั้น กีตาร์โปร่งสายเหล็กจึงมีเอกลักษณ์ที่เสียงดังกังวาน กีตาร์โปร่งสายเหล็กสามารถเล่นได้กว้างหลากหลายสไตล์เพลง เช่น pop, folk, Bluegrass, finger-style, jazz, blues
เป็นต้น กีตาร์โปร่งที่ดี จะต้องให้เสียงที่ดัง กังวาน มีความ balance ของทุก ๆ ย่านเสียง ทุก ๆ สายกีตาร์ต้อง balance กัน

ประเภทของ กีตาร์ไฟฟ้า ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีตาร์ (Body) อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.กีตาร์ตัวตัน (Solid Body)
หมายถึง กีตาร์ไฟฟ้าปกติที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีตาร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker
2.กีตาร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Bikini)
เป็นกีตาร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอกีตาร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) เช่นเดียวกับกีตาร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีตาร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole) เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีตาร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีตาร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีตาร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)
3.กีตาร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)
กีตาร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีตาร์โปร่งหรืออคูสติก และกีตาร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีตาร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) เช่นเดียวกันกับกีตาร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีตาร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีตาร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่

บทความที่ 2 : ความเป็นมาของกีต้าร์เบส เบส (BASS)

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น

ทความที่ 3 : สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนหัดเล่นกีตาร์

ก่อนที่เราจะเริ่มหัดเล่นกีตาร์ เราต้องเรียนรู้การจับคอร์ดเสียก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย สำหรับใครหลายๆคน แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะฝึกฝน โดยการฝึกจับคอร์ดตามตารางคอร์ดบ่อย โดยใช้นิ้วกดและทาบไปตามจุดต่างๆบนเส้นกีตาร์ โดยแต่ละคอร์ดก็จะมีรุปแบบการจับที่แตกต่างกันไป และจะให้เสียงที่ต่างกัน โดยคอร์ดกีตาร์มีอยู่อย่างมากมายตังรูป (Chords กีตาร์) คอร์ดกีตาร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ คอร์ด Major และ Minor โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor) (คอร์ดไม่ได้มีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้น แต่ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมากที่แตกแขนงต่อจากคอร์ดเมจอร์และไมเนอร์ เช่น คอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดเมเจอร์เซเว่น(maj7) คอร์ดไนน์(9) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน ) (รูปคอร์ดพื้นฐานยอดนิยม) คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, D, E, F ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้ เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major” เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า “คอร์ด C” แค่นั้น คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Bm, Cm, Dm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า “อีไมเนอร์”, คอร์ด Am ก็จะอ่านว่า “เอไมเนอร์” ดังนี้เป็นต้น